หน้าหลัก
หน้าหลัก
ผลงาน
ผลงาน
เกี่ยวกับ NAX
เกี่ยวกับ NAX
ข่าวสาร
ข่าวสาร
ติดต่อ NAX
ติดต่อ NAX
ผู้เชี่ยวชาญด้าน Website และ App ท้องถิ่นไทย
ที่ให้บริการตั้งแต่ปี
 

  ข่าวสาร NAX Solution
 
 
 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
วันวชิราวุธ - วันประถมศึกษาแห่งชาติ  
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลำดับภาพที่ 1/1
<<
>>
X
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

          การศึกษาในระบบโรงเรียนมีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๒๗โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ วัดมหรรณพาราม
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้น ซึ่งมีผลให้เด็กที่มีอายุ ๗ ปี บริบูรณ์ทุกคนต้องเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนจนอายุครบ ๑๔ ปี บริบูรณ์ โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน โดยพระราชบัญญัติประถมศึกษานี้ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๔
ด้วยเหตุดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดให้ วันที่ ๑ ตุลาคม ของทุกปี เป็น "วันประถมศึกษาแห่งชาติ" และได้จัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๕๐๙
การจัดงาน"วันประถมศึกษาแห่งชาติ" ได้เริ่มมีขึ้นใหม่ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เหตุที่ได้มีการจัดงานในวันนี้ เนื่องจาก
๑. พระองค์ทรงเป็นผู้ให้การสนับสนุนการประถมศึกษาอย่างดียิ่งและทรงเป็นผู้พระราชทานพระราชบัญญัติประถมศึกษา ฉบับพุทธศักราช ๒๔๖๔ เป็นฉบับแรก
๒. วันดังกล่าวเป็นวันที่มีงานเฉลิมพระเกียรติของพระองค์ ๒ งาน คือ งานวันมหาวชิรานุสรณ์ และงานวันถวายราชดุดีลูกเสือ

ดังนั้น วันประถมศึกษาแห่งชาติ จึงได้เปลี่ยนจากวันที่ ๑ ตุลาคม มาเป็นวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๓ เป็นต้นมา
วัตถุประสงค์ในการจัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติ
๑. เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานการศึกษาของไทย
๒. เพื่อเผยแพร่งานการประถมศึกษาทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
๓.  เพื่อแนะนำและเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและสนใจในด้านการบริหารและการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา
๔. เพื่อส่งเสริมความรู้และทักษะของนักเรียนระดับประถมศึกษา
๕. เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนระดับประถมศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๖. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประถมศึกษา
๗. เพื่อปลูกฝังและกระตุ้นความร่วมมือ ร่วมใจให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ และเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการประถมศึกษา


ในวันงานได้มีการจัดกิจกรรมทางวิชาการด้านต่างๆ เช่นกิจกรรมเสริมความรู้ความสามารถของนักเรียน การจัดนิทรรศการทางวิชาการ การให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการประถมศึกษา ตลอดจนประวัติและวิวัฒนาการของการประถมศึกษา เป็นต้น

ความสำคัญ
เพื่อระลึกถึงวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมาหากรุณาธิคุณอย่างมากมายต่อประชาชนชาวไทย ทรงมุ่งมั่นพัฒนาชาติให้มีความเจริญทัดเทียมกับนานา อารยประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา เศรษฐกิจ วัฒนธรรม นอกจากนี้ทรงก่อตั้งกองการลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศ รวมถึงสร้างเมือง "ดุสิตธานี" เพื่อวางรากฐานระบอบประชาธิปไตยให้กับประชาชนชาวไทย ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปวงชนชาวไทยจึงรวมใจกันถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมหาธีรราชเจ้า" ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประ ชาชาติ (UNESCO) ว่าทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสวมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ เฉลิมพระนามาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เอกอัคร มหาบุรุษบรมนราธิราช จุฬาลงกรณนาถราชโอรสมหาสมมติขัติยพิสุทธิ์ บรมมงกุฏสุริยสันตติวงษ์ อดิสัยพงษ์วโรภโตสุชาติ คุณสังกาศ วิมลรัตน พฤฆชนมสวัสดิขัติยราชกุมารมุสิกนาม
เมื่อทรงพระเยาว์ ได้รับการถวายพระอักษรจากครูที่พระราชบิดาทรงเลือกให้ เช่น พระยาศรีสุนทรโวหาร( น้อย อาจาริยางกูร ) พระยาอิศรพันธุ์โสภณ ( ม.ร.ว.หนู อิศรางกูร ) พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ ( ม.ร.ว.เปีย มาลากุล ) ส่วนครูสอนภาษาอังกฤษ คือ นายโรเบิร์ต มอแรนต์ ( Robert Morant ซึ่งต่อมาเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษแล้วได้รับตำแหน่งเป็น เซอร์ โรเบิร์ต มอแรนต์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการของประเทศอังกฤษ) จนเมื่อพระชนมายุได้ ๑๐ พรรษา จึงได้เสด็จเข้าศึกษาในโรงเรียนราชกุมารซึ่งตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวังนั่นเอง
ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ ขณะทรงมีพระชนมายุได้ ๑๔ พรรษาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงศึกษาต่อในทวีปยุโรปทั้งนี้ เป็นไปตามพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่จะทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอหลายพระองค์ ไปทรงศึกษาวิชาการ ณ ทวีปยุโรป ในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อนำกลับมาพัฒนาประเทศให้เจริญเทียบเท่านานาอารยประเทศต่อไป โดยทรงเข้ารับการศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์ท ( San Hurst ) และโรงเรียนวูลิช ( Woolich ) แล้วเสด็จไปทรงศึกษาวิชาพลเรือนต่อในมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด( Ox Ford ) ประเทศอังกฤษ รวมเวลาที่ทรงศึกษาในต่างประเทศทั้งสิ้น ๙ ปี
เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๓๗ ระหว่างประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธขึ้นดำรงพระอิสริยยศเป็น สยามมกุฏราชกุมาร พระองค์ที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีพระราชพิธีสถาปนาที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๓๗ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระยาเสมอใจราช ( ทองดี โขติกเสถียร ) อัญเชิญประกาศสถาปนาฐานันดรศักดิ์พร้อมเครื่องราชอิสริยยศและราชอิสริยาภรณ์ ไปถวายสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ ณ ประเทศอังกฤษ
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาในปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธฯ ได้เสด็จฯ กลับประเทศไทยผ่านทางอเมริกาและญี่ปุ่น นับเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้เดินทางรอบโลก ซึ่งเมื่อเสด็จฯ ถึงประเทศไทยแล้วได้ทรงเข้ารับราชการทหาร โดยดำรงพระยศเป็นนายพลเอก ราชองครักษ์ จเรทหารบก ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก และทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในคราวที่สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จประพาสยุโรปทั้ง ๒ ครั้ง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากพระบรมชนกนาถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ ทรงพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพนะปรเมนทรมหาวชิรวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศ์วิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพวงค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุดสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศล ประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก :
http://www.bloggang.com
http://siamspirit.freevar.com/tm1/6.html
http://www.sirikitdam.egat.com/days/11november/0211.html

 

ข่าว ณ. วันที่ 11 พ.ย. 2553 เวลา 13.40 น. โดย จารุวรรณ@naxsolution

แก้ไขข่าว ณ. วันที่ 6 เม.ย. 2554 เวลา 14.48 น. โดย

ผู้เข้าชม 3,520 ท่าน

 
 
 
เพิ่มเติม
 
     
  Functions Link
     
  บริการ
     
  NX Engine  
ติดต่อ NAX
 
  056-227-775
  084-228-9656
  sales@naxsolution.co.th
 
 
 
สงวนสิขสิทธิ์ 2549 © บริษัท แนกซ์ โซลูชั่น จำกัด
จำนวนผู้เข้าชม 2,878,629 เริ่มนับ 30 ส.ค. 2549